วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สาเหตุของการกิดการบาดเจ็บจากยิมนาสติก

  

               การบาดเจ็บ คือ ความเสียหายหรืออันตรายต่อหน้าที่หรือโครงสร้างของร่างกาย อันมีสาเหตุจากแรงหรือปัจจัยภายนอกทั้งทางกายภาพหรือเคมี และทั้งโดยเจตนาหรือไม่ได้เจตนา

                      ยิมนาสติก เป็นกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันเพื่อทดสอบความแข็งแรงของนักกีฬา  รวมทั้งจังหวะ ความยืดหยุ่นตัว หรือความอ่อนตัว และความคล่องแคล่วว่องไว กีฬายิมนาสติกที่ใช้ในการแข่งขันมี 3 แบบคือ ยิมนาสติกสากล (Artistic Gymnastics)  ยิมนาสติกลีลา (Rhythmic Gymnastics) และ แทรมโปลิน (Trampoline) สำหรับยิมนาสติกสากลและแทรมโปลินจะแข่งขันได้ทั้งชายและหญิง  ส่วนยิมนาสติกลีลาจะแข่งขันเฉพาะหญิงเท่านั้น

GYMNASTIC

เนื่องจากยิมนาสติก เป็นกีฬาที่ใช้ความสามารถสูงมาก ต้องใช้ทักษะสูงกว่ากีฬาอื่นๆ ทำให้บาดเจ็บง่ายกว่ากีฬาอื่นๆ ดังนั้น การบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ อุบัติเหตุจากการเล่น และการไม่ได้ Warm-up โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.อุบัติเหตจากการเล่น

จากการศึกษาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬายิมนาสติก ในช่วงเวลา 5 ปี พบว่านักกีฬาที่มารับการรักษาที่คลินิกกีฬา ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย และโรงพยาบาลศิริราช ทั้งหมดจำนวน 6,046 คน เป็นนักกีฬายิมนาสติกจำนวน 349 คน เป็นเพศชาย 193 คน และเพศหญิง 156 คน คิดเป็นร้อยละ 5.8 ของนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 
ส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ ขา และส่วนของเนื้อเยื่อนั้นพบว่าบาดเจ็บที่ข้อต่อและเอ็นยึดข้อต่อมากที่สุด ส่วนกล้ามเนื้อเป็นปัญหารองลงมา และพบมากที่สุดบริเวณหลังระดับเอว ชนิดของการบาดเจ็บส่วนใหญ่ไม่รุนแรงนัก เช่น บาดเจ็บที่เอ็นยึดข้อต่อฉีกขาด บาดเจ็บกล้ามเนื้อฉีกขาด การอักเสบ อย่างไรก็ตาม โรคที่ได้รับการวินิจฉัยมากที่สุด คือ ปวดหลังระดับเอวและข้อมือแพลง
ผลการศึกษาวิจัยจะเป็นแนวทางในการปกป้องและป้องกันการบาดเจ็บจากกีฬายิมนาสติก และยังเป็นแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพส่วนนั้นๆ ให้แข็งแรงและเลี่ยงต่อการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้น
อุบัติเหตุอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งเกิดจากความเครียดมากเกินไป ร่างกายส่วนล่าง การบาดเจ็บมักจะเป็นเพราะความไม่สมดุลของการ landings, ในขณะที่ประสบการณ์ยังไม่เพียงพอ เมื่อยืดตัวมากเกินไป ต้องเตรียมพร้อมรับความบาดเจ็บ และต้องเข้าใจว่าการได้รับบาดเจ็บใด ๆ อาจเป็นอันตรายกับตนในอนาคต

•หากไม่ได้ฝึกซ้อมเป็นเวลานานแล้วกลับไปเล่นก็ควรระวังเป็นอย่างมาก เพราะอาจได้รับบาดเจ็บรุนแรงได้เนื่องจากความยืดหยุ่นของตัวน้อยลง

•ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าก่อนเล่นยิมนาสติก สวมเสื้อผ้าที่เหมาะสม หากผมยาวควรผูกหรือถักเปียไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมเกินไปเพราะจะทำให้เอื้อต่อการสะดุด และไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับเนื่องจากเครื่องประดับต่างๆอาจขัดขวางการเล่นและทำให้บาดเจ็บได้เมื่อสัมผัสโดน

•ตรวจสอบสถานที่ที่จะเล่นกีฬาให้สะอาดโล่ง ปลอดภัยต่อสิ่งกีดขวางต่างๆ

2.การไม่warm up

            การwarm up ซึ่งรวมถึงการวิ่ง, เดินและ ยืดร่างกาย สิ่งที่จะได้รับคือการสูบฉีดเลือดการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย และลดความเลี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บ


          เริ่มจากการตรวจร่างกายเพื่อประเมินลักษณะ ความรุนแรงของบาดแผลหรือการบาดเจ็บที่ได้รับ รวมทั้งซักถามอาการจากนักกีฬา เช่น มีบวม หรือกดเจ็บ มีอาการปวดขณะเคลื่อนหรือขยับส่วนนั้นๆ หรือไม่ หลังจากได้ข้อมูลแล้วให้เริ่มทำการปฐมพยาบาลโดยปฏิบัติตามคำว่า "RICE" โดยที่
          R ใช้แทนคำว่า Rest
          I ใช้แทนคำว่า Ice
          C ใช้แทนคำว่า Compression
          E ใช้แทนคำว่า Elevation            
          รายละเอียดของการปฏิบัติตามแนวทาง RICE มีดังนี้

         1.การพัก (Rest) การหยุดใช้งานส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บหรือหยุดการเล่นกีฬาทันที โดยเฉพาะในช่วง 6 ชั่วโมงแรกของการบาดเจ็บ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วการบาดเจ็บต้องการเวลาพักประมาณ 48 ชั่วโมง ก่อนที่จะมีการเริ่มเคลื่อนไหว (mobilization) อีกครั้ง


          2.การใช้ความเย็น (Ice) โดยการประคบเย็นซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการมีเลือดออกบริเวณเนื้อเยื่อ ลดบวมและอาการปวดได้ โดยทั่วไปการประคบเย็นให้ประคบนานครั้งละ 10 ถึง 20 นาที หยุดประคบ 5 นาที ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่บวม หรือทำวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง วิธีที่นิยมใช้ในการประคบเย็น ได้แก่

               - การใช้เป็นถุงเย็น (ice pack) ซึ่งจะคงความเย็นได้ประมาณ 45 - 60 นาที และต้องมีผ้าห่อไว้ไม่ให้ถุงเย็นสัมผัสโดยตรงกับผิวหนัง
               - การใช้ถุงใส่น้ำแข็ง ผ้าชุบน้ำเย็น ในกรณีที่ไม่มีถุงเย็น หรือบริเวณของการบาดเจ็บกว้างเกินขนาดของถุงเย็น
               - การพ่นด้วยสเปรย์เย็น (cooling spray) อาจใช้ลดปวดเฉพาะที่ได้ชั่วคราว สามารถใช้ได้กับบริเวณที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังไม่หนา เช่น คาง สันหมัด ข้อเท้า

          3.การพันผ้ายืด (Compression) เพื่อกดไม่ให้มีเลือดออกในเนื้อเยื่อมาก มักใช้ร่วมกับการประคบเย็น เพื่อให้ได้ประโยชน์จากทั้งสองด้านร่วมกัน การพันผ้ายืดควรพันให้กระชับส่วนที่บาดเจ็บ และควรใช้ผ้าสำลีผืนใหญ่รองไว้ให้หนาๆ โดยรอบก่อนพันด้วยผ้ายืด ควรพันผ้ายืดคลุมเหนือและใต้ต่อส่วนที่บาดเจ็บ


          4.การยก (Elevation) ส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้สะดวก เช่น การนอนวางขาหรือเท้าบนหมอน ในกรณีที่นั่งให้วางเท้าบนเก้าอี้ เป็นต้น ในกรณีบาดเจ็บรุนแรงควรยกสูงไว้ประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง นอกจากนี้การยกส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บให้สูง ยังช่วยในการลดการกดของน้ำนอกเซลล์ที่หลั่งออกมาสู่เนื้อเยื่อบริเวณนั้นทำให้ลดการบวมลงได้


คลิปยิมนาสติก

          อย่างไรก็ตาม บางหลักปฏิบัติอาจเพิ่มการป้องกันการบาดเจ็บเพิ่ม (Protection) ด้วย ซึ่งอาจจะพบได้ในบางตำรา ทำให้หลักการปฏิบัติเพิ่มจาก "RICE" เป็น "PRICE" เช่น ในกรณีบาดเจ็บรุนแรงที่สงสัยว่ามีอันตรายต่อข้อต่อหรือกระดูกควรดาม (splint) ด้วยอุปกรณ์ที่แข็งและขนาดเหมาะสมกับอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บซึ่งหาได้ในบริเวณที่เกิดเหตุ 


จัดทำโดย...
นางสาวพิมพ์นิภา ธรรมใจอุต    ม.4/9     เลขที่   5
นางสาวปณาลี คิวเจริญ            ม.4/9     เลขที่   6
นายณยศ วสุวรรธก                   ม.4/9     เลขที่ 14
นายเมธิชัย เดชดี                      ม.4/9     เลขที่ 18
นายสหรัฐ จิววุฒิพงค์               ม.4/9     เลขที่ 21
นายสิรวิชญ์ พงศ์พรเชษฐา      ม.4/9     เลขที่ 22

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30 มกราคม 2565 เวลา 23:58

    Learn to play Pai Gow Poker by CardGames
    Pai Gow Poker. kadangpintar When playing Pai Gow poker online, all you have to do is click the button. Then the game begins. It begins, the หาเงินออนไลน์ dealer stands. 바카라 사이트 The card is dealt out

    ตอบลบ