วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สาเหตุของการกิดการบาดเจ็บจากยิมนาสติก

  

               การบาดเจ็บ คือ ความเสียหายหรืออันตรายต่อหน้าที่หรือโครงสร้างของร่างกาย อันมีสาเหตุจากแรงหรือปัจจัยภายนอกทั้งทางกายภาพหรือเคมี และทั้งโดยเจตนาหรือไม่ได้เจตนา

                      ยิมนาสติก เป็นกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันเพื่อทดสอบความแข็งแรงของนักกีฬา  รวมทั้งจังหวะ ความยืดหยุ่นตัว หรือความอ่อนตัว และความคล่องแคล่วว่องไว กีฬายิมนาสติกที่ใช้ในการแข่งขันมี 3 แบบคือ ยิมนาสติกสากล (Artistic Gymnastics)  ยิมนาสติกลีลา (Rhythmic Gymnastics) และ แทรมโปลิน (Trampoline) สำหรับยิมนาสติกสากลและแทรมโปลินจะแข่งขันได้ทั้งชายและหญิง  ส่วนยิมนาสติกลีลาจะแข่งขันเฉพาะหญิงเท่านั้น

GYMNASTIC

เนื่องจากยิมนาสติก เป็นกีฬาที่ใช้ความสามารถสูงมาก ต้องใช้ทักษะสูงกว่ากีฬาอื่นๆ ทำให้บาดเจ็บง่ายกว่ากีฬาอื่นๆ ดังนั้น การบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ อุบัติเหตุจากการเล่น และการไม่ได้ Warm-up โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.อุบัติเหตจากการเล่น

จากการศึกษาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬายิมนาสติก ในช่วงเวลา 5 ปี พบว่านักกีฬาที่มารับการรักษาที่คลินิกกีฬา ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย และโรงพยาบาลศิริราช ทั้งหมดจำนวน 6,046 คน เป็นนักกีฬายิมนาสติกจำนวน 349 คน เป็นเพศชาย 193 คน และเพศหญิง 156 คน คิดเป็นร้อยละ 5.8 ของนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 
ส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ ขา และส่วนของเนื้อเยื่อนั้นพบว่าบาดเจ็บที่ข้อต่อและเอ็นยึดข้อต่อมากที่สุด ส่วนกล้ามเนื้อเป็นปัญหารองลงมา และพบมากที่สุดบริเวณหลังระดับเอว ชนิดของการบาดเจ็บส่วนใหญ่ไม่รุนแรงนัก เช่น บาดเจ็บที่เอ็นยึดข้อต่อฉีกขาด บาดเจ็บกล้ามเนื้อฉีกขาด การอักเสบ อย่างไรก็ตาม โรคที่ได้รับการวินิจฉัยมากที่สุด คือ ปวดหลังระดับเอวและข้อมือแพลง
ผลการศึกษาวิจัยจะเป็นแนวทางในการปกป้องและป้องกันการบาดเจ็บจากกีฬายิมนาสติก และยังเป็นแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพส่วนนั้นๆ ให้แข็งแรงและเลี่ยงต่อการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้น
อุบัติเหตุอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งเกิดจากความเครียดมากเกินไป ร่างกายส่วนล่าง การบาดเจ็บมักจะเป็นเพราะความไม่สมดุลของการ landings, ในขณะที่ประสบการณ์ยังไม่เพียงพอ เมื่อยืดตัวมากเกินไป ต้องเตรียมพร้อมรับความบาดเจ็บ และต้องเข้าใจว่าการได้รับบาดเจ็บใด ๆ อาจเป็นอันตรายกับตนในอนาคต

•หากไม่ได้ฝึกซ้อมเป็นเวลานานแล้วกลับไปเล่นก็ควรระวังเป็นอย่างมาก เพราะอาจได้รับบาดเจ็บรุนแรงได้เนื่องจากความยืดหยุ่นของตัวน้อยลง

•ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าก่อนเล่นยิมนาสติก สวมเสื้อผ้าที่เหมาะสม หากผมยาวควรผูกหรือถักเปียไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมเกินไปเพราะจะทำให้เอื้อต่อการสะดุด และไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับเนื่องจากเครื่องประดับต่างๆอาจขัดขวางการเล่นและทำให้บาดเจ็บได้เมื่อสัมผัสโดน

•ตรวจสอบสถานที่ที่จะเล่นกีฬาให้สะอาดโล่ง ปลอดภัยต่อสิ่งกีดขวางต่างๆ

2.การไม่warm up

            การwarm up ซึ่งรวมถึงการวิ่ง, เดินและ ยืดร่างกาย สิ่งที่จะได้รับคือการสูบฉีดเลือดการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย และลดความเลี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บ


          เริ่มจากการตรวจร่างกายเพื่อประเมินลักษณะ ความรุนแรงของบาดแผลหรือการบาดเจ็บที่ได้รับ รวมทั้งซักถามอาการจากนักกีฬา เช่น มีบวม หรือกดเจ็บ มีอาการปวดขณะเคลื่อนหรือขยับส่วนนั้นๆ หรือไม่ หลังจากได้ข้อมูลแล้วให้เริ่มทำการปฐมพยาบาลโดยปฏิบัติตามคำว่า "RICE" โดยที่
          R ใช้แทนคำว่า Rest
          I ใช้แทนคำว่า Ice
          C ใช้แทนคำว่า Compression
          E ใช้แทนคำว่า Elevation            
          รายละเอียดของการปฏิบัติตามแนวทาง RICE มีดังนี้

         1.การพัก (Rest) การหยุดใช้งานส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บหรือหยุดการเล่นกีฬาทันที โดยเฉพาะในช่วง 6 ชั่วโมงแรกของการบาดเจ็บ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วการบาดเจ็บต้องการเวลาพักประมาณ 48 ชั่วโมง ก่อนที่จะมีการเริ่มเคลื่อนไหว (mobilization) อีกครั้ง


          2.การใช้ความเย็น (Ice) โดยการประคบเย็นซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการมีเลือดออกบริเวณเนื้อเยื่อ ลดบวมและอาการปวดได้ โดยทั่วไปการประคบเย็นให้ประคบนานครั้งละ 10 ถึง 20 นาที หยุดประคบ 5 นาที ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่บวม หรือทำวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง วิธีที่นิยมใช้ในการประคบเย็น ได้แก่

               - การใช้เป็นถุงเย็น (ice pack) ซึ่งจะคงความเย็นได้ประมาณ 45 - 60 นาที และต้องมีผ้าห่อไว้ไม่ให้ถุงเย็นสัมผัสโดยตรงกับผิวหนัง
               - การใช้ถุงใส่น้ำแข็ง ผ้าชุบน้ำเย็น ในกรณีที่ไม่มีถุงเย็น หรือบริเวณของการบาดเจ็บกว้างเกินขนาดของถุงเย็น
               - การพ่นด้วยสเปรย์เย็น (cooling spray) อาจใช้ลดปวดเฉพาะที่ได้ชั่วคราว สามารถใช้ได้กับบริเวณที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังไม่หนา เช่น คาง สันหมัด ข้อเท้า

          3.การพันผ้ายืด (Compression) เพื่อกดไม่ให้มีเลือดออกในเนื้อเยื่อมาก มักใช้ร่วมกับการประคบเย็น เพื่อให้ได้ประโยชน์จากทั้งสองด้านร่วมกัน การพันผ้ายืดควรพันให้กระชับส่วนที่บาดเจ็บ และควรใช้ผ้าสำลีผืนใหญ่รองไว้ให้หนาๆ โดยรอบก่อนพันด้วยผ้ายืด ควรพันผ้ายืดคลุมเหนือและใต้ต่อส่วนที่บาดเจ็บ


          4.การยก (Elevation) ส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้สะดวก เช่น การนอนวางขาหรือเท้าบนหมอน ในกรณีที่นั่งให้วางเท้าบนเก้าอี้ เป็นต้น ในกรณีบาดเจ็บรุนแรงควรยกสูงไว้ประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง นอกจากนี้การยกส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บให้สูง ยังช่วยในการลดการกดของน้ำนอกเซลล์ที่หลั่งออกมาสู่เนื้อเยื่อบริเวณนั้นทำให้ลดการบวมลงได้


คลิปยิมนาสติก

          อย่างไรก็ตาม บางหลักปฏิบัติอาจเพิ่มการป้องกันการบาดเจ็บเพิ่ม (Protection) ด้วย ซึ่งอาจจะพบได้ในบางตำรา ทำให้หลักการปฏิบัติเพิ่มจาก "RICE" เป็น "PRICE" เช่น ในกรณีบาดเจ็บรุนแรงที่สงสัยว่ามีอันตรายต่อข้อต่อหรือกระดูกควรดาม (splint) ด้วยอุปกรณ์ที่แข็งและขนาดเหมาะสมกับอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บซึ่งหาได้ในบริเวณที่เกิดเหตุ 


จัดทำโดย...
นางสาวพิมพ์นิภา ธรรมใจอุต    ม.4/9     เลขที่   5
นางสาวปณาลี คิวเจริญ            ม.4/9     เลขที่   6
นายณยศ วสุวรรธก                   ม.4/9     เลขที่ 14
นายเมธิชัย เดชดี                      ม.4/9     เลขที่ 18
นายสหรัฐ จิววุฒิพงค์               ม.4/9     เลขที่ 21
นายสิรวิชญ์ พงศ์พรเชษฐา      ม.4/9     เลขที่ 22